ดูเล่นยามว่าง

วันศุกร์

ใบงานที่ 14



ความเห็นเกี่ยวกับการใช้ blogger
เป็นความรู้ใหม่ที่ได้รับจากการเรียน สามารถนำไปพัฒนางานได้ ยังมีหลายสิ่งที่ไม่เคยรู้และอีกหลายสิ่งที่เรายังไม่รู้ ดีทั้งสองบล็อกแต่รูปแบบการใช้ และกลุ่มผู้ใช้แตกต่างกันบ้าง

เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียของ blogspot กับ gotoknow
1. กลุ่มผู้ใช้บล็อก gotoknow มากกว่า blogspot
2. รูปแบบบล็อก blogspot สวยกว่า gotoknow
3. blogspot เหมาะกับการจัดการกลุ่ม มากกว่า gotoknow
4. gotoknow เมาะกับการเผยแพร่ข้อมูลสู่สาธารณชนมากกว่า blogspot

วันเสาร์

.ใบงานที่ 13

นายสำราญ วังบุญคง

แม้จะไม่ได้ไปทัศนศึกษากับเพื่อนร่วมเรียน แต่ก็ไปศึกษาดูงานในการแข่งขันทักษะอาชีวศึกษาระดับชาติที่วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี

-ได้รับคัดเลือกเป็นครูผู้สอนดีเด่น ประจำปีการศึกษา 2552 ของวิทยาลัยเทคนิคทุ่งสง ซึ่งจะเข้ารับเกียรติบัตร ในวันครู( 16 มกราคม 2553 )

-ส่งผลให้นักศึกษาที่เข้าแข่งขันทักษะวิชาชีพสาขางานเทคนิคยานยนต์(เครื่องยนต์ใหญ่) สาขางานยานยนต์(เค รื่องยนต์เล็กและจักรยานยนต์) ได้รับรางวัลชนะเลิศทั้งสองประเภทในระดับอาชีวศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราชและระดับภาคใต้ และได้เป็นตัวแทนเข้าแข่งในระดับชาติในวันที่ 17-20 มกราคม 2553 ณ.จังหวัดอุบลราชธานี

-สาขาวิชาเครื่องกลได้รับคำชมเชยจากฝ่ายบริหารสถานศึกษาว่าเป็นสาขาวิชาที่มีระบบบริหารจัดการดี และมีศักยภาพในการทำงานสูงสุดของวิทยาลัย

ใบงานที่ 12

รูปสวย glitter emoticon comment glitter.mthai.com
ใบงานที่ 12 การใช้ spss

โปรแกรม SPSS เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปที่นิยมใช้วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติอีกโปรแกรมหนึ่ง
-การเริ่มต้นสู่โปรแกรม
เมื่อคลิกที่โปรแกรม SPSS จะเข้าสู่โปรแกรมดังรูป ซึ่งหากมีแฟ้มข้อมูลเดิม จะสามารถเลือกจากหน้าต่างนี้ หากต้องการเริ่มต้นใหม่ ให้คลิก Cancel เพื่อเข้าสู่ส่วนตารางทำงาน หรือที่เรียกว่า Data Editor

ข้อกำหนดโปรแกรมทั่วไป
SPSS แบ่งส่วนที่ใช้ป้อนข้อมูลเป็น sheet 2 ส่วน หรืออาจเรียกเป็น Tab ได้แก่
Data View : เป็นส่วนสำหรับใส่ข้อมูล ซึ่งแสดงชื่อตัวแปรเป็น Var ทุกคอลัมน์เมื่อทำการป้อนข้อมูล จะเปลี่ยนเป็น Var00001Var00002 … หากต้องการกำหนดชื่อตัวแปรเป็นอย่างอื่น ให้เลือกที่ Variable View จาก Sheet Tab ส่วนแถวจะอ้างอิงตั้งแต่ 1, 2, 3 ไปเรื่อย ๆ อย่างไรก็ตาม หากพบว่าตัวอักษรที่แสดงชื่อตัวแปรหรือแถว มีขนาดเล็กมองไม่สะดวก สามารถเปลี่ยนได้โดยการเลือกเมนู View \ Fonts… เพื่อเลือกชนิดอักษรและขนาดตามต้องการ ( แนะนำให้ใช้ MS San Serif ขนาด 10point)
Variable View : เป็นส่วนที่กำหนดลักษณะเฉพาะต่าง ๆ ของตัวแปร ได้แก่ ชื่อตัวแปร ( มีได้ไม่เกิน 8 ตัวอักษรรวมตัวเลข โดยห้ามเว้นช่องว่างหรือวรรค และห้ามมีสัญลักษณ์อื่น ๆ เช่น วงเล็บ เครื่องหมายบวก ลบ คูณ หาร เป็นต้น ) จำนวนทศนิยมความกว้างของคอลัมน์ Label ( ใช้ระบุรายละเอียดของตัวแปรซึ่งจำกัดเพียง 8 ตัวอักษร แต่ Label สามารถพิมพ์ข้อความได้มากกว่า รวมทั้งมีช่องว่างหรือสัญลักษณ์ใด ๆ ได้ ) เป็นต้น

•การนำข้อมูลเข้าสู่ Work sheet หรือ Data Editor
สำหรับการนำข้อมูลเข้าสู่ Data Editor สามารถทำได้หลายวิธี แต่ 2 วิธีที่นิยม ได้แก่
•การเปิดไฟล์จากไฟล์ประเภทอื่น
โดยโปรแกรม SPSS สามารถที่จะเปิดไฟล์ได้หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นไฟล์จากโปรแกรม Excel, Lotus, Sysstat หรือ Dbase สามารถเปิดได้โดยใช้เมนู File \ Open \ Data จากนั้นเลือกชนิดของไฟล์ เลือก Drive และ Folder ให้ถูกต้อง
•การป้อนข้อมูลโดยตรง
ในการป้อนข้อมูล หากต้องการป้อนข้อมูลเข้าอย่างโดยตรงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ใน Data Editor สามารถทำการ Copy และ Paste ข้อมูลในลักษณะของ Spread sheet ทั่วไปได้ ทำให้สะดวกต่อการใช้ป้อนข้อมูล
•เมนูสำหรับการวิเคราะห์ผลทางสถิติ
ในการวิเคราะห์นั้น จะใช้เมนู Statistics ดังรูป โดยจะมีเมนูย่อยที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางสถิติต่าง ๆ เช่น Descriptive Statistics, Compare Mean, General Linear Model, Correlation หรือ Regression เป็นต้น

ใบงานที่ 11

นายสำราญ วังบุญคง
รหัส 5246701063 ป.บัณฑิตการบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ความรู้สึกที่มีต่อการจัดการเรียนรู้กับ อาจารย์อภิชาต วัชรพันธุ์


สอนด้วยจิตวิญญาณของความเป็นครู อาจารย์เป็นคนอัธยาศัยดีเยี่ยม มุ่งมั่นให้ศิษย์ได้ความรู้ให้มากที่สุด

ใบงานที่ 10

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

นายสำราญ วังบุญคง
ประวัติส่วนตัว
จังหวัดที่เกิด นครศรีธรรมราช ปัจจุบันอยู่บ้านเลขที่ 414/3 ม.12 ต.ร่อนพิบูลย์ อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช

การศึกษา
ประถมศึกษา โรงเรียนวัดวังฆ้อง
มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสามตำบลวิทยาประชาสรรค์
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคยะลา
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาเทคนิคช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคยะลา
ปริญญาตรี สาขาเทคนิคยานยนต์ วิทยาลัยช่างกลปทุมวัน
ปริญญาโท สาขาเครื่องกล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

การทำงาน
อาจารย์1 ระดับ 3 วิทยาลัยเทคนิคราชสิทธาราม กรุงเทพ
อาจารย์ วิทยาลัยเทคนิคยะลา
ครูประจำสาขาวิชาเครื่องกล วิทยาลัยเทคนิคทุ่งสง

ใบงานที่ 8



1.ความหมายของคำว่าสถิติ (Statistics) อาจพิจารณาได้ 3 ความหมาย ดังนี้
 สถิติ หมายถึง ตัวเลขที่ใช้บรรยายเหตุการณ์หรือข้อเท็จจริง (facts) ของเรื่องต่างๆ ที่เราต้องการศึกษา เช่น สถิติจำนวนผู้ป่วย สถิติจำนวนคนเกิด สถิติจำนวนคนตาย เป็นต้น
 สถิติ หมายถึง ศาสตร์หรือวิชาที่ว่าด้วยหลักการและระเบียบวิธีทางสถิติ สถิติใน ความหมาย นี้มักเรียกว่า สถิติศาสตร์ (Statistics)
 สถิติ หมายถึง ค่าที่คำนวณขึ้นมาจากตัวอย่าง เพื่อแสดงถึงคุณลักษณะบางอย่างของข้อมูลชุดนั้น โดยทั่วไปจะนำค่าสถิติไปใช้ในการประมาณค่าพารามิเตอร์
2.ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีความหมายว่าอย่างไร และแต่ละค่าเป็นสถิติประเภทใด
 ค่าเฉลี่ย หรือค่ามัชฌิมเลขคณิต (Arithmetic mean) คือค่าเฉลี่ยของข้อมูลทั้งหมด ความหมาย
เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
 ค่ามัธยฐาน (Median) คือค่าของข้อมูลที่จุดกึ่งกลางของการกระจายของข้อมูลโดย 50% ของข้อมูลมี ค่าสูงกว่าค่า มัธยฐาน และ 50% มีค่าต่ำกว่าค่ามัธยฐาน และมักใช้ในกรณีที่ การกระจายของข้อมูลมีลักษณะไม่เท่ากันทั้งสองข้าง (Asymmetry) หรือมีลักษณะเบ้ไปทางซ้ายหรือทางขวา
เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
 ค่าฐานนิยม (Mode) คือค่าของข้อมูลที่มีความถี่มากที่สุดในข้อมูลของชุดนั้นๆ ซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่งค่าหรือไม่มีเลยก็ได้ เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เป็นการวัดการกระจายของข้อมูลว่าจะเบี่ยงเบนไปจากค่าเฉลี่ยมากน้อยเท่าใด เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
3.คำว่าประชากร และกลุ่มตัวอย่างเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ให้อธิบายยกตัวอย่างประกอบ
 ประชากร (Population) หมายถึง กลุ่มสมาชิกทั้งหมดที่ต้องการศึกษา อาจจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้ ใช้สัญลักษณ์ “N” แทนจำนวนประชากร
 กลุ่มตัวอย่าง (Sample) หมายถึง กลุ่มสมาชิกที่ถูกเลือกมาจากประชากรด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งเพื่อเป็นตัวแทนในการศึกษาและเก็บข้อมูล ใช้สัญลักษณ์ “n” แทนสมาชิกของกลุ่มตัวอย่าง
 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างต่างกัน เพราะกลุ่มตัวอย่างเป็นเพียงสมาชิกส่วนหนึ่งของประชากรที่ถูกคัดเลือกมาใช้ในการศึกษาด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ตัวอย่าง เช่น เมื่อผู้วิจัยต้องการศึกษาความต้องการในการพัฒนาตนเองของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งมีจำนวนมาก ผู้วิจัยไม่สามารถศึกษาจากประชากรทั้งหมดได้จึ้งคัดเลือกผู้บริหารมาศึกษาเพียงบางส่วนโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยหลักความน่าจะเป็น ตารางเลขสุ่ม หรืออื่นๆ ผลที่ได้จากการศึกษาจะอ้างอิงไปสู่ประชากรทั้งหมด
4.นามบัญญัติ ระดับอันดับที่ ระดับช่วง ระดับอัตราส่วน
 มาตรนามบัญญัติ (Nominal Scale)
- เป็นมาตรวัดที่หยาบที่สุด จัดข้อมูลออกเป็นกลุ่มๆ แยกตามประเภทหรือชนิด
- สถิติ : ความถี่ ร้อยละ ฐานนิยม หรือใช้สถิติแบบนอนพาราเมตริก
- ตัวแปร : เป็นตัวแปรที่ไม่มีขนาด ไม่มีความเท่ากันของช่วง และไม่มีศูนย์สมบูรณ์
 มาตรเรียงลำดับ (Ordinal Scale)
- เป็นมาตรวัดที่ใช้กับข้อมูลที่สามารถจัดเรียงอันดับความสำคัญหรือสามารถเปรียบเทียบกันได้
- สถิติ : ฐานนิยม มัธยฐาน พิสัย เปอร์เซนต์ไทล์ และสถิติแบบนอนพาราเมตริก
- ตัวแปร : เป็นตัวแปรที่มีการจัดลำดับข้อมูลจากมากไปน้อย หรือจากน้อยไปมากได้ แต่ไม่ได้บอก
ถึงปริมาณแต่ละอันดับว่ามากน้อยเท่าใด ไม่มีความเท่ากันของช่วงคะแนน และไม่มีศูนย์สมบูรณ์
 มาตรอันตรภาค (Interval Scale)
- เป็นมาตรวัดที่สามารถบอกได้ทั้งทิศทางและขนาดของ ความแตกต่างของข้อมูล มาตรวัดนี้ไม่มีศูนย์ที่แท้จริง (absolute zero)
- สถิติ : ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
- ตัวแปร : เป็นตัวแปรที่สามารถบอกระยะห่างของตัวเลข 2 ตัว ว่ามีความแตกต่างกันมากน้อยเท่าใด มีเกณฑ์อยู่กับสิ่งที่เรียกว่าศูนย์สมมติ
 มาตรอัตราส่วน (Ratio Scale)
- เป็นมาตรวัดที่มีลักษณะสมบูรณ์ทุกอย่าง ดีกว่ามาตรวัดอันตรภาคตรงที่มาตรการวัดนี้มีศูนย์
ที่แท้จริง

- สถิติ : สถิติที่ใช้กับการวัดในระดับนี้ใช้ได้ทุกวิธีที่มีอยู่
- ตัวแปร : เป็นตัวแปรที่มีระดับการวัดเหมือนมาตราอันตรภาค และมีศูนย์สมบูรณ์ ข้อมูลที่
เป็นอัตราส่วนสามารถนำมาบวก ลบ คูณ หาร ได้ และสามารถใช้ได้กับสถิติทุกประเภท
5.ตัวแปรคืออะไร ตัวแปรต้นคืออะไร ตัวแปรตามคืออะไร

 ตัวแปร หมายถึง สิ่งที่เปลี่ยนค่าไปได้หลายค่า เป็นลักษณะคุณภาพ คุณสมบัติของบุคคล สิ่งของ หรือสิ่งที่สนใจจะนำมาศึกษาที่สามารถนับได้ วัดได้ หรือหมายถึง สิ่งที่แปรเปลี่ยนไปตามระยะเวลา แปรเปลี่ยนได้หลายค่า หรือมากกว่า 1 ลักษณะ เช่นเชื้อชาติ แปรค่าได้เป็น ไทย , จีน , ….
 ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ (independent variable) เป็นตัวแปรเหตุที่ทำให้ผลตามมา หรือทำให้สิ่งที่เกี่ยวข้องอยู่ด้วยเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะ หรือ แปรสภาพไป ตัวแปรต้นจะมีลักษณะดังนี้
- เป็นตัวแปรเหตุ
- เป็นตัวแปรที่มาก่อน
- เป็นตัวแปรที่จัดกระทำในการทดลอง
- มีลักษณะเป็นตัวทำนาย
- เป็นตัวกระตุ้น
- มีความคงทน ถาวร
 ตัวแปรตาม (dependent variable) เป็นตัวแปรที่มีผลมาจากตัวแปรต้น ซึ่งตัวแปรตามจะมีลักษณะ ดังนี้
- เป็นตัวแปรที่เป็นผล
- เกิดขึ้นภายหลัง
- เกิดขึ้นเองไม่สามารถจัดกระทำได้ในการทดลอง
- เป็นตัวถูกทำนาย
- เป็นตัวตอบสนอง
- เปลี่ยนแปลงได้ง่าย
6.สมมติฐาน คืออะไร สมมติฐานการวิจัยมีกี่ประเภทอะไรบ้าง

 สมมติฐาน คือ การคาดการณ์ผลการวิจัยไว้ล่วงหน้าโดยมีทฤษฎีหรือข้อค้นพบจากผลงานวิจัยที่ผ่านมามารองรับ เป็นคำตอบที่คาดการณ์ไว้ก่อนที่จะดำเนินการวิจัยจริง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- สมมติฐานการวิจัย เป็นข้อความที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ที่ผู้วิจัยคาดว่าจะเกิดขึ้นมักจะเขียนในเชิงความเรียงธรรม
- สมมติฐานทางสถิติ เป็นการนำข้อความจากสมมติฐานการวิจัยมาเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ทางสถิติ
7. T-test, F-test เหมือนหรือต่างอย่างไร

 T-test เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย เหมาะสำหรับถ้าตัวแปรเป็นตัวแปรเชิงปริมาณที่สามารถวัดค่าได้
 F – test (หรือ ANOVA) เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยตั้งแต่สองกลุ่มขึ้นไป
 T-test และ F – test เหมือนกันคือเป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย ต่างกันคือ F – test เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยของข้อมูลตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป

สรุปเนื้อหา


สรุปเนื้อหาวันที่ 28 พฤศจิกายน 2552

การบริหารนวัตกรรม
การบริหารงานสารบรรณ
การบริหารงานทะเบียนนักเรียน
ชี้แจง
แต่งตั้งกรรมการ
ดำเนินการตาม พรบ.การศึกษาที่เกี่ยวข้อง
ติดตามประเมินผล ใช่หรือ ไม่ ใช่จัดเก็บ ไม่ใช่นำไปปรับปรุง
จัดเก็บ
การพัฒนานวัตกรรมในงานสัมพันธ์ชุมชน ให้คิดแผนงาน
การพัฒนานวัตกรรมงานกิจกรรมนอกหลักสูตร ให้ใช้ในการนำไปพัฒนางานชิ้นที่ 2
การให้บริการนักเรียน ใช้เป็นเครือข่ายผู้ปกครอง
การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตามแบบของ สวร.
การเสริมสร้างพัฒนาเครือข่าย ภายใน ภายนอกสถานศึกษา หรือการทำระบบประเมินความเสี่ยง
การ search ข้อมูล
ลักษณะการทำงานขอบริการ เวิลด์ไวด์เว็บ
โปรแกรม internet exprore เป็นเว็บบราวเซอร์ที่นิยมสูงสุด โดยพิมพ์ url หรือ address ของเว็บที่ต้องการ
การใช้ google search web หรือ รูปภาพ ใช้ค้นหาแผนที่ ใช้ในการแปลภาษา ได้หลายภาษา สามารถเปลี่ยนสลับกันได้ การใช้ กูรูเพื่อหาเรื่องราวที่เราต้องการหา “การบริหารแบบธรรมาภิบาล” หรือ คำว่า “leadership”
การใช้ บล็อก คือการค้น บล็อกในเรื่องที่เราต้องการ เช่น leadership อาจเข้าไปเจอเอกสาร หรือเว็บภาษาอังกฤษก็ย้อนกลับมาใช้ google แปลภาษาได้
การใช้ Gmail.ใช้ในการรับส่งเมล บทความต่าง ๆ ติดต่อกับเพื่อน ๆ
การทำฐานข้อมูลโดยใช้ โปรแกรม excel
.ให้ไปดูวัดผลดอทคอม เพื่อหาการใช้ spss ในการวิเคราะห์ข้อมูล
การทำฐานข้อมูลจาก เอ็กเซล์
พิมพ์ชื่อฐานข้อมูลลงใน เอ็กเซล เช่น งานวิจัย