ดูเล่นยามว่าง

วันเสาร์

ใบงานที่ 8



1.ความหมายของคำว่าสถิติ (Statistics) อาจพิจารณาได้ 3 ความหมาย ดังนี้
 สถิติ หมายถึง ตัวเลขที่ใช้บรรยายเหตุการณ์หรือข้อเท็จจริง (facts) ของเรื่องต่างๆ ที่เราต้องการศึกษา เช่น สถิติจำนวนผู้ป่วย สถิติจำนวนคนเกิด สถิติจำนวนคนตาย เป็นต้น
 สถิติ หมายถึง ศาสตร์หรือวิชาที่ว่าด้วยหลักการและระเบียบวิธีทางสถิติ สถิติใน ความหมาย นี้มักเรียกว่า สถิติศาสตร์ (Statistics)
 สถิติ หมายถึง ค่าที่คำนวณขึ้นมาจากตัวอย่าง เพื่อแสดงถึงคุณลักษณะบางอย่างของข้อมูลชุดนั้น โดยทั่วไปจะนำค่าสถิติไปใช้ในการประมาณค่าพารามิเตอร์
2.ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีความหมายว่าอย่างไร และแต่ละค่าเป็นสถิติประเภทใด
 ค่าเฉลี่ย หรือค่ามัชฌิมเลขคณิต (Arithmetic mean) คือค่าเฉลี่ยของข้อมูลทั้งหมด ความหมาย
เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
 ค่ามัธยฐาน (Median) คือค่าของข้อมูลที่จุดกึ่งกลางของการกระจายของข้อมูลโดย 50% ของข้อมูลมี ค่าสูงกว่าค่า มัธยฐาน และ 50% มีค่าต่ำกว่าค่ามัธยฐาน และมักใช้ในกรณีที่ การกระจายของข้อมูลมีลักษณะไม่เท่ากันทั้งสองข้าง (Asymmetry) หรือมีลักษณะเบ้ไปทางซ้ายหรือทางขวา
เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
 ค่าฐานนิยม (Mode) คือค่าของข้อมูลที่มีความถี่มากที่สุดในข้อมูลของชุดนั้นๆ ซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่งค่าหรือไม่มีเลยก็ได้ เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เป็นการวัดการกระจายของข้อมูลว่าจะเบี่ยงเบนไปจากค่าเฉลี่ยมากน้อยเท่าใด เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
3.คำว่าประชากร และกลุ่มตัวอย่างเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ให้อธิบายยกตัวอย่างประกอบ
 ประชากร (Population) หมายถึง กลุ่มสมาชิกทั้งหมดที่ต้องการศึกษา อาจจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้ ใช้สัญลักษณ์ “N” แทนจำนวนประชากร
 กลุ่มตัวอย่าง (Sample) หมายถึง กลุ่มสมาชิกที่ถูกเลือกมาจากประชากรด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งเพื่อเป็นตัวแทนในการศึกษาและเก็บข้อมูล ใช้สัญลักษณ์ “n” แทนสมาชิกของกลุ่มตัวอย่าง
 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างต่างกัน เพราะกลุ่มตัวอย่างเป็นเพียงสมาชิกส่วนหนึ่งของประชากรที่ถูกคัดเลือกมาใช้ในการศึกษาด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ตัวอย่าง เช่น เมื่อผู้วิจัยต้องการศึกษาความต้องการในการพัฒนาตนเองของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งมีจำนวนมาก ผู้วิจัยไม่สามารถศึกษาจากประชากรทั้งหมดได้จึ้งคัดเลือกผู้บริหารมาศึกษาเพียงบางส่วนโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยหลักความน่าจะเป็น ตารางเลขสุ่ม หรืออื่นๆ ผลที่ได้จากการศึกษาจะอ้างอิงไปสู่ประชากรทั้งหมด
4.นามบัญญัติ ระดับอันดับที่ ระดับช่วง ระดับอัตราส่วน
 มาตรนามบัญญัติ (Nominal Scale)
- เป็นมาตรวัดที่หยาบที่สุด จัดข้อมูลออกเป็นกลุ่มๆ แยกตามประเภทหรือชนิด
- สถิติ : ความถี่ ร้อยละ ฐานนิยม หรือใช้สถิติแบบนอนพาราเมตริก
- ตัวแปร : เป็นตัวแปรที่ไม่มีขนาด ไม่มีความเท่ากันของช่วง และไม่มีศูนย์สมบูรณ์
 มาตรเรียงลำดับ (Ordinal Scale)
- เป็นมาตรวัดที่ใช้กับข้อมูลที่สามารถจัดเรียงอันดับความสำคัญหรือสามารถเปรียบเทียบกันได้
- สถิติ : ฐานนิยม มัธยฐาน พิสัย เปอร์เซนต์ไทล์ และสถิติแบบนอนพาราเมตริก
- ตัวแปร : เป็นตัวแปรที่มีการจัดลำดับข้อมูลจากมากไปน้อย หรือจากน้อยไปมากได้ แต่ไม่ได้บอก
ถึงปริมาณแต่ละอันดับว่ามากน้อยเท่าใด ไม่มีความเท่ากันของช่วงคะแนน และไม่มีศูนย์สมบูรณ์
 มาตรอันตรภาค (Interval Scale)
- เป็นมาตรวัดที่สามารถบอกได้ทั้งทิศทางและขนาดของ ความแตกต่างของข้อมูล มาตรวัดนี้ไม่มีศูนย์ที่แท้จริง (absolute zero)
- สถิติ : ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
- ตัวแปร : เป็นตัวแปรที่สามารถบอกระยะห่างของตัวเลข 2 ตัว ว่ามีความแตกต่างกันมากน้อยเท่าใด มีเกณฑ์อยู่กับสิ่งที่เรียกว่าศูนย์สมมติ
 มาตรอัตราส่วน (Ratio Scale)
- เป็นมาตรวัดที่มีลักษณะสมบูรณ์ทุกอย่าง ดีกว่ามาตรวัดอันตรภาคตรงที่มาตรการวัดนี้มีศูนย์
ที่แท้จริง

- สถิติ : สถิติที่ใช้กับการวัดในระดับนี้ใช้ได้ทุกวิธีที่มีอยู่
- ตัวแปร : เป็นตัวแปรที่มีระดับการวัดเหมือนมาตราอันตรภาค และมีศูนย์สมบูรณ์ ข้อมูลที่
เป็นอัตราส่วนสามารถนำมาบวก ลบ คูณ หาร ได้ และสามารถใช้ได้กับสถิติทุกประเภท
5.ตัวแปรคืออะไร ตัวแปรต้นคืออะไร ตัวแปรตามคืออะไร

 ตัวแปร หมายถึง สิ่งที่เปลี่ยนค่าไปได้หลายค่า เป็นลักษณะคุณภาพ คุณสมบัติของบุคคล สิ่งของ หรือสิ่งที่สนใจจะนำมาศึกษาที่สามารถนับได้ วัดได้ หรือหมายถึง สิ่งที่แปรเปลี่ยนไปตามระยะเวลา แปรเปลี่ยนได้หลายค่า หรือมากกว่า 1 ลักษณะ เช่นเชื้อชาติ แปรค่าได้เป็น ไทย , จีน , ….
 ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ (independent variable) เป็นตัวแปรเหตุที่ทำให้ผลตามมา หรือทำให้สิ่งที่เกี่ยวข้องอยู่ด้วยเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะ หรือ แปรสภาพไป ตัวแปรต้นจะมีลักษณะดังนี้
- เป็นตัวแปรเหตุ
- เป็นตัวแปรที่มาก่อน
- เป็นตัวแปรที่จัดกระทำในการทดลอง
- มีลักษณะเป็นตัวทำนาย
- เป็นตัวกระตุ้น
- มีความคงทน ถาวร
 ตัวแปรตาม (dependent variable) เป็นตัวแปรที่มีผลมาจากตัวแปรต้น ซึ่งตัวแปรตามจะมีลักษณะ ดังนี้
- เป็นตัวแปรที่เป็นผล
- เกิดขึ้นภายหลัง
- เกิดขึ้นเองไม่สามารถจัดกระทำได้ในการทดลอง
- เป็นตัวถูกทำนาย
- เป็นตัวตอบสนอง
- เปลี่ยนแปลงได้ง่าย
6.สมมติฐาน คืออะไร สมมติฐานการวิจัยมีกี่ประเภทอะไรบ้าง

 สมมติฐาน คือ การคาดการณ์ผลการวิจัยไว้ล่วงหน้าโดยมีทฤษฎีหรือข้อค้นพบจากผลงานวิจัยที่ผ่านมามารองรับ เป็นคำตอบที่คาดการณ์ไว้ก่อนที่จะดำเนินการวิจัยจริง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- สมมติฐานการวิจัย เป็นข้อความที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ที่ผู้วิจัยคาดว่าจะเกิดขึ้นมักจะเขียนในเชิงความเรียงธรรม
- สมมติฐานทางสถิติ เป็นการนำข้อความจากสมมติฐานการวิจัยมาเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ทางสถิติ
7. T-test, F-test เหมือนหรือต่างอย่างไร

 T-test เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย เหมาะสำหรับถ้าตัวแปรเป็นตัวแปรเชิงปริมาณที่สามารถวัดค่าได้
 F – test (หรือ ANOVA) เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยตั้งแต่สองกลุ่มขึ้นไป
 T-test และ F – test เหมือนกันคือเป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย ต่างกันคือ F – test เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยของข้อมูลตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป

สรุปเนื้อหา


สรุปเนื้อหาวันที่ 28 พฤศจิกายน 2552

การบริหารนวัตกรรม
การบริหารงานสารบรรณ
การบริหารงานทะเบียนนักเรียน
ชี้แจง
แต่งตั้งกรรมการ
ดำเนินการตาม พรบ.การศึกษาที่เกี่ยวข้อง
ติดตามประเมินผล ใช่หรือ ไม่ ใช่จัดเก็บ ไม่ใช่นำไปปรับปรุง
จัดเก็บ
การพัฒนานวัตกรรมในงานสัมพันธ์ชุมชน ให้คิดแผนงาน
การพัฒนานวัตกรรมงานกิจกรรมนอกหลักสูตร ให้ใช้ในการนำไปพัฒนางานชิ้นที่ 2
การให้บริการนักเรียน ใช้เป็นเครือข่ายผู้ปกครอง
การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตามแบบของ สวร.
การเสริมสร้างพัฒนาเครือข่าย ภายใน ภายนอกสถานศึกษา หรือการทำระบบประเมินความเสี่ยง
การ search ข้อมูล
ลักษณะการทำงานขอบริการ เวิลด์ไวด์เว็บ
โปรแกรม internet exprore เป็นเว็บบราวเซอร์ที่นิยมสูงสุด โดยพิมพ์ url หรือ address ของเว็บที่ต้องการ
การใช้ google search web หรือ รูปภาพ ใช้ค้นหาแผนที่ ใช้ในการแปลภาษา ได้หลายภาษา สามารถเปลี่ยนสลับกันได้ การใช้ กูรูเพื่อหาเรื่องราวที่เราต้องการหา “การบริหารแบบธรรมาภิบาล” หรือ คำว่า “leadership”
การใช้ บล็อก คือการค้น บล็อกในเรื่องที่เราต้องการ เช่น leadership อาจเข้าไปเจอเอกสาร หรือเว็บภาษาอังกฤษก็ย้อนกลับมาใช้ google แปลภาษาได้
การใช้ Gmail.ใช้ในการรับส่งเมล บทความต่าง ๆ ติดต่อกับเพื่อน ๆ
การทำฐานข้อมูลโดยใช้ โปรแกรม excel
.ให้ไปดูวัดผลดอทคอม เพื่อหาการใช้ spss ในการวิเคราะห์ข้อมูล
การทำฐานข้อมูลจาก เอ็กเซล์
พิมพ์ชื่อฐานข้อมูลลงใน เอ็กเซล เช่น งานวิจัย

วันศุกร์

ใบงานที่ 6



นายสำราญ วังบุญคง
ปัจจุบันการใช้งาน Internet จะปรากฏ Web Site ให้เราสามารถเยี่ยมชมได้มากมายหลายประเภท และได้มีการบรรจุข้อมูลข่าวสารอยู่ใน Web Site ต่าง ๆ ซึ่งถ้าเราต้องการค้นหาข้อมูลที่อยู่ในระบบ Internet1 เราอาจใช้อุปกรณ์ Tools ที่เรียกว่า ตัวค้นหา (Search Engire) โดยตัวค้นหา (Search Engire) นี้จะถูกบรรจุอยู่ใน Web Site ต่าง ๆ เช่น www.google.com ,www.yahoo.com, www.lycos.com ในเอกสารนี้จะแนะนำถึงการใช้งานค้นหา (Search Engire) ของ www.google.com ซึ่งจำเป็นตัวค้นหา (Search Engire) ที่นิยมใช้มากสุดและมีฐานข้อมูล (data base) ของ Web Site ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งจะมีรูปแบบที่มีคำอธิบายการใช้งานเป็นภาษาไทยที่ Web Site www.google.co.th

ซอฟต์แวร์เดสก์ทอป
ซอฟต์แวร์ของกูเกิล จะเป็นซอฟต์แวร์ให้ดาวน์โหลดใช้งานฟรี และทำงานผ่านระบบของกูเกิล
กูเกิล ทอล์ก
ทอล์ก (Google Talk) ซอฟต์แวร์เมสเซนเจอร์และวีโอไอพี
กูเกิล เอิร์ธ
เอิร์ธ (Google Earth) ซอฟต์แวร์ดูภาพถ่ายผ่านดาวเทียมและภาพถ่ายทางอากาศ
ปีกาซา
ปีกาซา (Picasa) ซอฟต์แวร์สำหรับดูภาพภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ใช้งานคู่กับเว็บไซต์ปีกาซา
กูเกิล แพ็ก
แพ็ก (Google Pack) เป็นชุดซอฟต์แวร์พร้อมดาวน์โหลด ประกอบด้วย โปรแกรมของกูเกิลเองได้แก่ เดสก์ท็อป ปีกาซา ทูลบาร์ โฟโต้สกรีนเซฟเวอร์ เอิร์ธ ทอร์ก วิดีโอเพลย์เยอร์ และโปรแกรมอื่นรวมถึง ไฟร์ฟอกซ์ สตาร์ออฟฟิศ อะโดบี รีดเดอร์ สไกป์
กูเกิล โครม
โครม (Google Chrome) ซอฟต์แวร์เบราว์เซอร์
สเก็ตช์อัป
สเก็ตช์อัป (SketchUp) ซอฟต์แวร์สำหรับวาดภาพสเก็ตช์ และภาพ 3 มิติ
กูเกิล แมพ
แมพ (Google Map) ซอฟแวร์สำหรับค้นหาแผนที่บนโลก


Search Engine เป็นเครื่องมือหรือโปรแกรมในการค้นหาเว็บต่างๆ โดยมีการเก็บ รายชื่อเว็บไซต์ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่างๆ ของเว็บไซต์และนำมาจัดเก็บไว้ใน server เพื่อให้สามารถค้นหาและแสดงผลได้สะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ บาง search engine อาจไม่ได้มีการเก็บข้อมูลใน server ของตัวเอง แต่อาจอาศัยข้อมูลจากเจ้าของ server นั้นๆ
ตัวอย่าง Search Engine ที่มีชื่อเสียงทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เช่น sanook.com, siamguru.com, google.com, yahoo.com, msn.com, altavista.com, search.com เป็นต้น
วิธีการค้นหา
เพียงพิมพ์คำที่เราต้องการค้นหา หรือที่เราเรียกว่า Key Word และกดปุ่ม Search \
ประโยชน์ที่ได้รับจาก Search Engine
ค้นหาเว็บที่ต้องการได้สะดวก รวดเร็ว
สามารถค้นหาแบบเจาะลึกได้ ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ, ข่าว, MP3 และอื่นๆ อีกมากมาย
สามารถค้นหาจากเว็บไซต์เฉพาะทาง ที่มีการจัดทำไว้ เช่น download.com เว็บไซต์เกี่ยวกับข้อมูลและซอร์ฟแวร์ เป็นต้น
มีความหลากหลายในการค้นหาข้อมูล
รองรับการค้นหา ภาษาไทย

ใบงานที่ 4

[ กดเบาๆ ]
[ กดเบาๆ ]


นายสำราญ วังบุญคง
การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคล หรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ
1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม
สืบค้นจาก http://www.koratkm.com/


กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management) เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาการของความรู้ หรือการจัดการความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน คือ
1. การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องใช้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร
2. การสร้างและแสวงหาความรู้ เช่นการสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว
3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต
4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เช่น ปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์
5. การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีเป็น Explicit Knowledge อาจจัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีเป็น Tacit Knowledge จัดทำเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น
7. การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่นเกิดระบบการเรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้ การนำความรู้ในไปใช้ เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง
สืบค้นจาก http://www.dopa.go.th/iad/km/km_des.html

แหล่งข้อมูล คือ สถานที่ที่สามารถ ค้นคว้า สืบค้น เรียนรู้ ข้อมูลต่างๆแต่ละประเภทตามที่เราต้องการและอยู่ในรูปลักษณะที่ แตกต่างกันออกไป ตามที่แหล่งข้อมูลนั้นๆจะนำเสนออกมายิ่งในปัจจุบันจะมีรูปแบบในการนำเสนอ ที่หลากหลายมาก จนเราตามไม่ทันและมีข้อมูลมากมายมหาศาล ให้เราได้เรียนรู้ สืบค้น ค้นคว้า มาใช้ในการเรียนและงานต่างๆมากมาย
ตัวอย่างแหล่งข้อมูล ที่มีในปัจจุบัน
1. สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ
2. ซีดี วีซีดี ดีวีดี วีดีโอ ภาพยนต์
3. สถานที่ต่างๆ ห้องสมุด โบราณสถาน สถานที่ท่องเที่ยว
4. เทคโนโลยีต่างๆ ทีวี วิทยุ ระบบอินเทอร์เน็ต ดาวเทียม

สืบค้นจาก http://www.ketkwanchai.info/ebook2/f6.htm

ในทัศนะของ สุวัฒน์ แก้วสังข์ทอง (2543 : 53 – 54) นั้น อธิบายเพิ่มเติมไว้อย่างน่าสนใจว่า เครือข่ายการเรียนรู้ หมายถึง การจัดระบบและพัฒนาให้แหล่งความรู้ ซึ่งหมายถึง องค์กร สถานประกอบการบุคคล ศูนย์ข่าวสารข้อมูล สถานที่ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้สามารถถ่ายโยงเกิดกระบวนการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน หรือ ผู้สนใจ ได้ทั้งความรู้ ทักษะ เกี่ยวกับ อาชีพ สังคม เศรษฐกิจ เทคโนโลยี ศาสนา และศิลปวัฒนธรรมที่เป็นของดีดั้งเดิม และที่พัฒนาแล้ว ที่มีอยู่ในชุมชน อำเภอ จังหวัดดังนั้นโดยสรุปแล้ว เครือข่ายการเรียนรู้ หมายถึงการกระจาย เชื่อมโยง หรือแลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งกันและกัน ระหว่างกลุ่มบุคคลอย่างต่อเนื่องและกว้างขวาง โดยมีการจัดระบบและวิธีการเรียนรู้ต่าง ๆ กัน ตามความต้องการของบุคคลเครือข่ายสังคม
พิมพ์วัลย์ ปรีดาสวัสดิ์ (2533 : 346 – 347) กล่าวให้เห็นถึงแนวคิดเดียวกันนี้ว่าเครือข่ายสังคมให้เป็นรูปธรรมขึ้นมา เครือข่ายสังคมเปรียบเสมือนรูปภาพของจุดต่าง ๆ ที่มีเส้นหลาย ๆ เส้น โยงมาระหว่างจุดต่าง ๆ เหล่านี้กับจุดหนึ่ง ซึ่งเป็นศูนย์กลาง จุดศูนย์กลางเปรียบเสมือนกับบุคคลหนึ่ง และจุดต่าง ๆ เป็นตัวแทนของบุคคลอื่น ๆ รอบ ๆ ข้างที่บุคคลนั้นมีความสัมพันธ์ด้วยการเชื่อมโยงด้วยเส้นโยงหลาย ๆ เส้นนั้น หมายถึงความสัมพันธ์ทางสังคมที่สำคัญคือ การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลกับบุคคลอื่น ๆ การปฏิสัมพันธ์ (Interaction) และการแลกเปลี่ยน ข่าวสาร ข้อมูล เครื่องใช้ไม้สอย อาหาร การบริการ (Transaction) ระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคลการศึกษาเครือข่ายสังคมเป็นความสัมพันธ์ทางสังคมที่บุคคลมีต่อกันและกัน ภายในเครือข่ายสามารถแบ่งได้หลายปริมณฑล (Zones) ซึ่งการกำหนดขอบเขตของเครือข่ายสังคมนั้น

สืบค้นจาก http://giftsykamon.blogspot.com/2007/09/blog-post_8106.html

สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ หรืออาจกล่าวได้ว่า สารสนเทศ เกิดจากการนำข้อมูล ผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ วิเคราะห์และแปลความหมายเป็นข้อความที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
เช่น สารสนเทศที่เป็น ความรู้ที่เกิดจากวิทยุ โทรศัพท์มือถือ ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ รอบตัวเราซึ่งอาจมาจาก วิทยุ โทรทัศน์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ดาวเทียม โทรศัพท์ เครื่องจักร ที่เกี่ยวกับสารสนเทศได้ เครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ เช่น การฝาก ถอนเงินผ่านเครื่อง ATM การจองตั๋วเครื่องบิน การลงทะเบียน ฯลฯ

สืบค้นจาก http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=3038186b229ad337

วันจันทร์

ใบงานครั้งที่ 1 การใข้ Google
Google


Google เริ่มต้นที่เป็นเพียงแค่โปรเจ็กต์เล็กๆ ในมหาวิทยาลัยเมื่อ 5 ปีก่อน ปัจจุบัน Google กลายเป็นเสิร์ชเอนจินที่ได้ รับความนิยมสูงสุดชนิดที่เรียกว่าทิ้งคู่แข่งแบบห่างชั้น จากการยืนยันของ Nielsen Netratings โดยใช้การสำรวจจากหน้าอินเทอร์เน็ตที่มีความสำคัญสูงสุด 5 อันดับแรก เฉพาะในประเทศเยอรมนีประเทศเดียวก็มีผู้ใช้บริการ Google ถึง 14 ล้านคนต่อวัน
เคล็ดลับเด็ดๆ สำหรับ Google
แทบจะไม่มีใครที่ใช้งาน Google ได้อย่างเต็มความสามารถ
- ความสามารถในการค้นหาที่ละเอียดยิ่งขึ้นโดยการกำหนดตัวแปรต่างๆ ในการค้นหา
- Google สามารถแปลหน้าเว็บไซต์ได้
- แสดงราคาหุ้นได้ และยังสามารถคำนวณโจทย์คณิตศาสตร์ได้อีกด้วย
- ค้นหาโดยระบุคำสั่งพิเศษ โดยใช้การค้นหาแบบ Advanced Search (ค้นหาแบบละเอียด) เพื่อบอก ให้ Google จำกัดขอบเขตการค้นหาให้เหลือเฉพาะหน้าเว็บไซต์ที่ผ่านการตรวจสอบจาก Google ในช่วง 3 เดือน, 6 เดือน หรือ 12 เดือน
- กำหนดรูปแบบเอกสารของผลการค้นหาแบบเฉพาะเจาะจงได้อีกด้วย เช่น ต้องการผลเป็นไฟล์ PDF หรือไฟล์ในรูปแบบของ Office และจำกัดการค้นหาหน้าให้อยู่ในประเภทของเว็บไซต์หรือโดเมนที่ต้องการ
- ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการเป็นพิเศษ ดังเช่น รูปภาพต่างๆ
- ค้นด้วยคำที่มีความหมายเหมือนกัน
- แปล ภาษา ซึ่งคุณสามารถพิมพ์ข้อความเข้าไปเพื่อให้ Google แปลข้อความดังกล่าวให้คุณได้หลากหลายภาษาด้วยกัน เช่น แปลจากภาษาเยอรมนี เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาฝรั่งเศส หรือแปลข้อความจากภาษาอังกฤษไปเป็นภาษาสเปน, โปรตุเกสหรือภาษาอิตาลี และอีกหลายภาษา
- แปลเนื้อหาในหน้าเว็บไซต์ทั้งหน้าได้ โดยคุณสามารถใส่ชื่อ URL ที่คุณต้อง การให้ Google แปลลงในกรอบ Translate the Website ในหน้าของ Language Tools หรือคลิกที่ลิงก์ Translate this Website ของหน้า
- การค้นหาจากหน้าเว็บไซต์ของ US (เว็บไซต์ที่มีโดเมนเป็น .us, .gov และ .mil)
- ค้นหาเฉพาะหัวข้อที่เกี่ยวกับไมโครซอฟท์ ลินุกซ์ ยูนิกซ์ หรือแอปเปิล
- Google Toolbar เป็นปลั๊กอินตัวหนึ่งสำหรับเว็บบราวเซอร์ซึ่งจะช่วยให้สามารถใช้งาน Google ได้โดยไม่จำเป็นต้องเข้าไปที่หน้าโฮมเพจของ Google ก่อน
- Google มีฟังก์ชันในการคำนวณของ Google จะช่วยในการค้นหาผลลัพธ์ของสมการทางคณิตศาสตร์ให้ด้วย หากคุณพิมพ์โจทย์ปัญหา เช่น 365+12*8 ลงในช่องสำหรับการป้อนข้อมูลการค้นหาตามปกติจะได้ผลลัพธ์เท่าักับ 461 แทนที่จะได้รายการแสดงหน้าอินเทอร์เน็ตที่ค้นพบ นอกจากสมการง่ายๆ ดังกล่าว Google ยังสามารถคำนวณสมการที่ซับซ้อนยิ่งกว่านั้นได้อีกด้วย เช่น การพิมพ์คำ ว่า sqr จะเป็นการคำนวณค่ารากที่สองของเลขที่อยู่ถัดมา หรือเมื่อคุณต้องการคำนวณค่า 25 ยกกำลัง 2 ก็สามารถทำได้โดยพิมพ์ว่า 25^2 ลงไป แม้กระทั่งฟังก์ชันตรีโกณมิติก็สามารถคำนวณได้โดยใช้ตัวย่อ sin, cos และ tan หรือการคำนวณฟังก์ชันลอกการิทึมโดยใช้เครื่องหมาย ln, lg และ lb ที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับคุณสมบัติและความสามารถของ Google Calculator นี้คุณสามารถดู ได้ที่หน้า www.google.com/help/calculator.html Google รู้จักค่าคงที่ทางคณิตศาสตร์และฟิสิกส์หลายต่อหลายตัว เช่น ค่าพาย , ค่าความเร็วแสง , ค่าความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงโลก (G) และอื่นๆ อีกมาก หากคุณใส่สัญลักษณ์สากลของค่าคงที่ลงไป Google จะแสดงค่าดังกล่าวออกมาเป็นตัวเลข
- การเปลี่ยนหน่วยให้คุณได้ เช่น เปลี่ยนหน่วยไมล์ (Miles) หรือนิ้ว (Inches) เป็นกิโลเมตร, เมตรหรือเซนติเมตร หรือเปลี่ยนจากแคลอรีเป็นกิโลจูล หรือจากกิโลกรัมเป็นปอนด์ก็ได้เช่นเดียวกัน เพียงแค่คุณพิมพ์ง่ายๆ ดังเช่นว่า "25 miles in kilometer" หรือ "50 pounds in kilogram" ซึ่งการคำนวณดังที่กล่าวมาแล้วนี้สามารถทำ ได้ในหน้าเว็บไซต์ของ Google ทุกๆ หน้า
- ตรวจสอบราคาหุ้น Google.com สามารถแสดงให้คุณทราบถึงสถานภาพของหุ้นต่างๆ ที่คุณต้องการทราบได้ โดยมีข้อแม้เพียงข้อเดียวคือ หุ้นของบริษัทดังกล่าวต้อง อยู่ในตลาดหุ้นของอเมริกา

- ทำความรู้จักกับ Google แผนที่
แผนผังด้านล่างนี้อธิบายคุณลักษณะบางอย่างที่มีใน Google แผนที่ ในตำแหน่งของคุณ อาจใช้ได้บางคุณลักษณะเท่านั้น:



1. ขอเส้นทาง - คลิกที่คุณลักษณะนี้เพื่อขอเส้นทาง
2. แผนที่ของฉัน - ใช้สำหรับดูและสร้าง แผนที่ที่กำหนดเอง
3. ค้นหา - ใช้สำหรับค้นหาสถานที่และธุรกิจต่างๆ คลิกปุ่มสีเทาที่ด้านขวาของช่องค้นหาเพื่อใช้ ดู หรือแก้ไขสถานที่ที่บันทึกไว้ของคุณ
4. แสดง/ซ่อน - คลิกที่ลูกศรด้านซ้ายเพื่อซ่อนหรือแสดงแผงด้านซ้าย และคลิกลูกศรด้านขวาเพื่อย่อและขยายแผนที่
5. การจราจร - คลิกที่นี่เพื่อดูข้อมูลการจราจร
6. เพิ่มเติม... - คลิกที่นี่เพื่อเปิดหรือปิดเลเยอร์ต่างๆ คุณสามารถดูแผนที่ขนส่ง รูปภาพ ข้อมูลวิกิพีเดียและอื่นๆ ขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่คุณกำลังค้นหา
7. พิมพ์/ส่ง - คลิกเพื่อพิมพ์หรือ ส่งแผนที่
8. ลิงก์ไปยังหน้าเว็บนี้ - คลิกเพื่อสร้างที่อยู่เว็บ (URL) ของแผนที่ในเบราว์เซอร์ของคุณ โดยคุณสามารถแบ่งปันกับผู้อื่นได้ เรียนรู้เพิ่มเติม
9. ผลการค้นหา - ช่องนี้จะแสดงผลการค้นหา คลิกที่ผลการค้นหาใดก็ได้ที่คุณต้องการเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
10. ตัวควบคุมทิศทาง - ใช้เพื่อควบคุมทิศทาง
11. แผนที่ - พื้นที่นี้จะแสดงแผนที่ ผลการค้นหา แผนที่ของฉัน และอีกมากมาย
12. Street View - คลิกที่คุณลักษณะนี้เพื่อดูและควบคุมทิศทางภาพระดับถนน
13. หน้าต่างข้อมูล - หน้าต่างนี้จะแสดงข้อมูลเพิ่มเติมเมื่อคุณคลิกที่เครื่องหมายหรือผลการค้นหา
14. แผนที่ภาพรวม - แสดงอาณาเขตของพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ครอบคลุมแผนที่ที่คุณกำลังดูอยู่
การใช้แผนที่ภาพรวม

Gmail

- มีธีมเพิ่มเติมอีกสี่แบบทำให้ Gmail ดูเหมือนสนามหญ้าแสนสบาย หรือวิดีโอเกมแบบเก๋า
- การแปลข้อความ' จาก แท็บ Labs ในการตั้งค่า


ตกแต่งกล่องจดหมายของคุณด้วยชุดรูปแบบของ Gmail ไม่ว่าจะเป็นสีเทาในแบบมินิมัลลิสต์ หรือภาพทิวเทือกเขาที่เปี่ยมไปด้วยชีวิตชีวา ปรับแต่งรูปลักษณ์ให้บัญชี Gmail ในแบบของคุณด้วยตัวเลือกกว่า 30 รายการในการเริ่มต้น โปรดดูที่ แท็บชุดรูปแบบ ภายใต้ การตั้งค่า
ภาพหนึ่งภาพแทนคำนับพัน สนทนาแบบซึ่งหน้า โดยการแชทด้วยเสียงและวิดีโอแชทใน Gmail
พบปะพูดคุยกับเพื่อนและครอบครัวได้จากใน Gmail
รูปสวย เสียงดีด้วยระบบเสียงและวิดีโอคุณภาพสูง
เพียงคุณมีกล้องเว็บแคมและดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งได้ในไม่กี่วินาที
ปรับปรุงส่วนติดต่อของโทรศัพท์ที่คุณใช้ให้เหมาะสมโดยอัตโนมัติ
เปิดไฟล์แนบที่คุณได้รับในข้อความ รวมถึงภาพถ่าย เอกสาร Microsoft Word และไฟล์ .pdf
อนุญาตให้คุณตอบกลับด้วยการโทรติดต่อบุคคลที่มีหมายเลขโทรศัพท์อยู่ในรายการที่ติดต่อของ Gmail