ดูเล่นยามว่าง

วันศุกร์

ใบงานที่ 14



ความเห็นเกี่ยวกับการใช้ blogger
เป็นความรู้ใหม่ที่ได้รับจากการเรียน สามารถนำไปพัฒนางานได้ ยังมีหลายสิ่งที่ไม่เคยรู้และอีกหลายสิ่งที่เรายังไม่รู้ ดีทั้งสองบล็อกแต่รูปแบบการใช้ และกลุ่มผู้ใช้แตกต่างกันบ้าง

เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียของ blogspot กับ gotoknow
1. กลุ่มผู้ใช้บล็อก gotoknow มากกว่า blogspot
2. รูปแบบบล็อก blogspot สวยกว่า gotoknow
3. blogspot เหมาะกับการจัดการกลุ่ม มากกว่า gotoknow
4. gotoknow เมาะกับการเผยแพร่ข้อมูลสู่สาธารณชนมากกว่า blogspot

วันเสาร์

.ใบงานที่ 13

นายสำราญ วังบุญคง

แม้จะไม่ได้ไปทัศนศึกษากับเพื่อนร่วมเรียน แต่ก็ไปศึกษาดูงานในการแข่งขันทักษะอาชีวศึกษาระดับชาติที่วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี

-ได้รับคัดเลือกเป็นครูผู้สอนดีเด่น ประจำปีการศึกษา 2552 ของวิทยาลัยเทคนิคทุ่งสง ซึ่งจะเข้ารับเกียรติบัตร ในวันครู( 16 มกราคม 2553 )

-ส่งผลให้นักศึกษาที่เข้าแข่งขันทักษะวิชาชีพสาขางานเทคนิคยานยนต์(เครื่องยนต์ใหญ่) สาขางานยานยนต์(เค รื่องยนต์เล็กและจักรยานยนต์) ได้รับรางวัลชนะเลิศทั้งสองประเภทในระดับอาชีวศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราชและระดับภาคใต้ และได้เป็นตัวแทนเข้าแข่งในระดับชาติในวันที่ 17-20 มกราคม 2553 ณ.จังหวัดอุบลราชธานี

-สาขาวิชาเครื่องกลได้รับคำชมเชยจากฝ่ายบริหารสถานศึกษาว่าเป็นสาขาวิชาที่มีระบบบริหารจัดการดี และมีศักยภาพในการทำงานสูงสุดของวิทยาลัย

ใบงานที่ 12

รูปสวย glitter emoticon comment glitter.mthai.com
ใบงานที่ 12 การใช้ spss

โปรแกรม SPSS เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปที่นิยมใช้วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติอีกโปรแกรมหนึ่ง
-การเริ่มต้นสู่โปรแกรม
เมื่อคลิกที่โปรแกรม SPSS จะเข้าสู่โปรแกรมดังรูป ซึ่งหากมีแฟ้มข้อมูลเดิม จะสามารถเลือกจากหน้าต่างนี้ หากต้องการเริ่มต้นใหม่ ให้คลิก Cancel เพื่อเข้าสู่ส่วนตารางทำงาน หรือที่เรียกว่า Data Editor

ข้อกำหนดโปรแกรมทั่วไป
SPSS แบ่งส่วนที่ใช้ป้อนข้อมูลเป็น sheet 2 ส่วน หรืออาจเรียกเป็น Tab ได้แก่
Data View : เป็นส่วนสำหรับใส่ข้อมูล ซึ่งแสดงชื่อตัวแปรเป็น Var ทุกคอลัมน์เมื่อทำการป้อนข้อมูล จะเปลี่ยนเป็น Var00001Var00002 … หากต้องการกำหนดชื่อตัวแปรเป็นอย่างอื่น ให้เลือกที่ Variable View จาก Sheet Tab ส่วนแถวจะอ้างอิงตั้งแต่ 1, 2, 3 ไปเรื่อย ๆ อย่างไรก็ตาม หากพบว่าตัวอักษรที่แสดงชื่อตัวแปรหรือแถว มีขนาดเล็กมองไม่สะดวก สามารถเปลี่ยนได้โดยการเลือกเมนู View \ Fonts… เพื่อเลือกชนิดอักษรและขนาดตามต้องการ ( แนะนำให้ใช้ MS San Serif ขนาด 10point)
Variable View : เป็นส่วนที่กำหนดลักษณะเฉพาะต่าง ๆ ของตัวแปร ได้แก่ ชื่อตัวแปร ( มีได้ไม่เกิน 8 ตัวอักษรรวมตัวเลข โดยห้ามเว้นช่องว่างหรือวรรค และห้ามมีสัญลักษณ์อื่น ๆ เช่น วงเล็บ เครื่องหมายบวก ลบ คูณ หาร เป็นต้น ) จำนวนทศนิยมความกว้างของคอลัมน์ Label ( ใช้ระบุรายละเอียดของตัวแปรซึ่งจำกัดเพียง 8 ตัวอักษร แต่ Label สามารถพิมพ์ข้อความได้มากกว่า รวมทั้งมีช่องว่างหรือสัญลักษณ์ใด ๆ ได้ ) เป็นต้น

•การนำข้อมูลเข้าสู่ Work sheet หรือ Data Editor
สำหรับการนำข้อมูลเข้าสู่ Data Editor สามารถทำได้หลายวิธี แต่ 2 วิธีที่นิยม ได้แก่
•การเปิดไฟล์จากไฟล์ประเภทอื่น
โดยโปรแกรม SPSS สามารถที่จะเปิดไฟล์ได้หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นไฟล์จากโปรแกรม Excel, Lotus, Sysstat หรือ Dbase สามารถเปิดได้โดยใช้เมนู File \ Open \ Data จากนั้นเลือกชนิดของไฟล์ เลือก Drive และ Folder ให้ถูกต้อง
•การป้อนข้อมูลโดยตรง
ในการป้อนข้อมูล หากต้องการป้อนข้อมูลเข้าอย่างโดยตรงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ใน Data Editor สามารถทำการ Copy และ Paste ข้อมูลในลักษณะของ Spread sheet ทั่วไปได้ ทำให้สะดวกต่อการใช้ป้อนข้อมูล
•เมนูสำหรับการวิเคราะห์ผลทางสถิติ
ในการวิเคราะห์นั้น จะใช้เมนู Statistics ดังรูป โดยจะมีเมนูย่อยที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางสถิติต่าง ๆ เช่น Descriptive Statistics, Compare Mean, General Linear Model, Correlation หรือ Regression เป็นต้น

ใบงานที่ 11

นายสำราญ วังบุญคง
รหัส 5246701063 ป.บัณฑิตการบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ความรู้สึกที่มีต่อการจัดการเรียนรู้กับ อาจารย์อภิชาต วัชรพันธุ์


สอนด้วยจิตวิญญาณของความเป็นครู อาจารย์เป็นคนอัธยาศัยดีเยี่ยม มุ่งมั่นให้ศิษย์ได้ความรู้ให้มากที่สุด

ใบงานที่ 10

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

นายสำราญ วังบุญคง
ประวัติส่วนตัว
จังหวัดที่เกิด นครศรีธรรมราช ปัจจุบันอยู่บ้านเลขที่ 414/3 ม.12 ต.ร่อนพิบูลย์ อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช

การศึกษา
ประถมศึกษา โรงเรียนวัดวังฆ้อง
มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสามตำบลวิทยาประชาสรรค์
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคยะลา
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาเทคนิคช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคยะลา
ปริญญาตรี สาขาเทคนิคยานยนต์ วิทยาลัยช่างกลปทุมวัน
ปริญญาโท สาขาเครื่องกล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

การทำงาน
อาจารย์1 ระดับ 3 วิทยาลัยเทคนิคราชสิทธาราม กรุงเทพ
อาจารย์ วิทยาลัยเทคนิคยะลา
ครูประจำสาขาวิชาเครื่องกล วิทยาลัยเทคนิคทุ่งสง