ดูเล่นยามว่าง

วันเสาร์

นายสำราญ วังบุญคง รหัสประจำตัวนักศึกษา 5246701063

ใบงาน การจัดการนวัฒกรรมและสารสนเทศ

อธิบายความหมายของคำสำคัญดังต่อไปนี้ (กรณีศึกษาการจัดนวัตกรรมและสารสนเทศในสาบันการศึกษา)
1. การบริหาร (Administration)
เป็นกระบวนการดำเนินการระดับการกำหนดนโยบาย หรือกระบวนการบริหารงานใดๆ ขององค์การที่ไม่ต้องการผลกำไรหรือผลประโยชน์ขององค์การ ผู้บริหารพยายามบริหารงานให้เป็นไปตามเป้าหมายขององค์การผลสำเร็จขององค์การมิได้คำนึงถึงผลตอบแทนที่สมาชิกจะได้รับ
2. การจัดการ Management)เป็นกระบวนการบริหารงานใดๆขององค์การที่ต้องการกำไรโดยผู้จัดการจะต้องทำให้องค์การบรรลุเป้าหมายเพื่อให้องค์การอยู่รอดในสภาพแวดล้อมที่ดำรงอยู่ ซึ่งอยู่ในระบบการแข่งขัน

สรุป การบริหาร คือการใช้คนหลายคนทำงาน ส่วนการจัดการเป็นการสร้างเครื่องมือเพื่อให้คนทำงานตั้งแต่การบริหารบุคคล การเงิน พัสดุ การกำหนดนโยบาย การวางแผน

3. นวัตกรรม (Innovation)
หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
“นวัตกรรม” มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
4. ความหมายของเทคโนโลยี
ความเจริญในด้านต่างๆ ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นผลมาจากการศึกษาค้นคว้าทดลอง
ประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ โดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เมื่อศึกษาค้นพบและทดลองใช้ได้ผลแล้ว ก็นำออกเผยแพร่ใช้ในกิจการด้านต่างๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาคุณภาพ และประสิทธิภาพในกิจการต่างๆ เหล่านั้น และวิชาการที่ว่าด้วยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในกิจการด้านต่างๆ จึงเรียกกันว่า "วิทยาศาสตร์ประยุกต์" หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า "เทคโนโลยี"
เทคโนโลยี หมายถึงการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่านักเทคโนโลยี (Technologist)
เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology)
ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ
สภาเทคโนโลยีทางการศึกษานานาชาติได้ให้คำจำกัดความของ เทคโนโลยีทางการศึกษา ว่าเป็นการพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิคและอุปกรณ์ ให้สามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น

5. ข้อมูล
ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจ ข้อเท็จจริงที่เป็นตัวเลข ข้อความ หรือรายละเอียดซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ภาพ เสียง วีดิโอไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ ข้อมูลเป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และต้องถูกต้องแม่นยำ ครบถ้วน ขึ้นอยู่กับผู้ดำเนินการที่ให้ความสำคัญของความรวดเร็วของการเก็บข้อมูล ดังนั้นการเก็บข้อมูลจึงเป็นการเก็บรวบรวมเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจนั่นเอง ข้อมูลจึงหมายถึงตัวแทนของข้อเท็จจริง หรือความเป็นไปของสิ่งของที่เราสนใจ
ข้อมูลสถิติ หมายถึงข้อมูลที่เป็นตัวเลขหรือไม่เป็นตัวเลขเช่นเดียวกับ ข้อมูล แต่ข้อมูลสถิติจะมีจำนวนมากกว่า และสามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ และจะแสดงข้อเท็จจริงที่เป็นตัวเลขหรือไม่เป็นตัวเลขก็ได้ แบบเดียวกับข้อมูล แต่ต้องมีจำนวนมาก เพื่อแสดงลักษณะของกลุ่ม
ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่เราสนใจศึกษา จำแนกได้ดังนี้
1. ข้อมูลเชิงปริมาณ คือ ข้อมูลที่เป็นตัวเลขที่ใช้แสดงปริมาณของสิ่งต่างๆ
2. ข้อมูลเชิงคุณภาพ คือ ข้อมูลที่ใช้อธิบายลักษณะ สมบัติหรือสถานการณ์ของสิ่งต่างๆ



6. สารสนเทศ (information)
หมายถึง ข้อมูลที่ได้รับการประมวลผลแล้วด้วยวิธีการรวบรวม แจกแจง วิเคราะห์ และสามารถนำไปจัดกระทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งโดยเฉพาะได้หรือใช้ประกอบการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ได้ตามจุดประสงค์ที่กำหนด หรือ สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ได้ถูกนำมาวิเคราะห์ในรูปแบบที่ต้องการเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจพร้อมทั้งได้เสนอความแตกต่างและความสัมพันธ์ของข้อมูล
7.ระบบสารสนเทศ
หมายถึง ระบบที่ดำเนินการจัดการข้อมูลข่าวสารในองค์กรให้สามารถนำมาใช้ได้อย่างเป็นระบบระเบียบโดยไม่มีคอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ในที่นี้จะหมายถึงระบบที่มีการใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยจัดการข้อมูลข่าวสารเพื่อให้ได้มาเพื่อสารสนเทศเพื่อนำไปประกอบการตัดสินใจในเวลาอันรวดเร็วและถูกต้องที่สุด ดังนั้นระบบสารสนเทศในที่นี้จึงประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ผู้ใช้ กระบวนการ และตัว ข้อมูลหรือสารสนเทศโดยมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนสามารถตรวจสอบและประเมินผลระบบได้

8. ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา
หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร
เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นที่นิยมประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน อาทิ
1. ระบบสารสนเทศช่วยในการเรียนการสอน
2. การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม
3. การประชุมทางไกลระบบจอภาพ
4. ระบบฐานข้อมูลการศึกษา
5. ระบบสารสนเทศเอกสาร

9. การสื่อสาร(Communication)
หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย
1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
5. ความเข้าใจและการตอบสนอง

10. เครือข่าย
หมายถึงกลุ่มของคนหรือองค์กรที่สมัครใจแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลระหว่างกัน หรือทำ กิจกรรมร่วมกัน โดยมีการจัดรูปหรือจัดระเบียบโครงสร้างที่คนหรือองค์กรสมาชิกยังคงมีความเป็นอิสระ
ในความหมายนี้ สาระสำคัญ คือ ความสัมพันธ์ของสมาชิกในเครือข่ายต้องเป็นไปโดยสมัครใจ กิจกรรมที่ทำในเครือข่ายต้องมีลักษณะเท่าเทียมหรือแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน และการเป็นสมาชิก เครือข่ายไม่มีผลกระทบต่อความเป็นอิสระหรือความเป็นตัวของตัวเองของคนหรือองค์กรนั้น ๆ

11. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
หมายถึง เทคโนโลยีสองด้านหลัก ๆ ที่ประกอบด้วยเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้าง และเผยแพร่สารสนเทศในรูปต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว ข้อความหรือตัวอักษร และตัวเลข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมี 5 ประการ (Souter 1999: 409) ได้แก่
• ประการแรก การสื่อสารถือเป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ สิ่งสำคัญที่มีส่วนในการพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ประกอบด้วย Communications media, การสื่อสารโทรคมนาคม (Telecoms), และเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)
• ประการที่สอง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกอบด้วยผลิตภัณฑ์หลักที่มากไปกว่าโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ เช่น แฟกซ์, อินเทอร์เน็ต, อีเมล์ ทำให้สารสนเทศเผยแพร่หรือกระจายออกไปในที่ต่าง ๆ ได้สะดวก
• ประการที่สาม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีผลให้การใช้งานด้านต่าง ๆ มีราคาถูกลง
• ประการที่สี่ เครือข่ายสื่อสาร (Communication networks) ได้รับประโยชน์จากเครือข่ายภายนอก เนื่องจากจำนวนการใช้เครือข่าย จำนวนผู้เชื่อมต่อ และจำนวนผู้ที่มีศักยภาพในการเข้าเชื่อมต่อกับเครือข่ายนับวันจะเพิ่มสูงขึ้น
• ประการที่ห้า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทำให้ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ และต้นทุนการใช้ ICT มีราคาถูกลงมา
12. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการบริหารศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นที่นิยมประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน อาทิ
1. ระบบสารสนเทศช่วยในการเรียนการสอน
2. การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม
3. การประชุมทางไกลระบบจอภาพ
4. ระบบฐานข้อมูลการศึกษา
5. ระบบสารสนเทศเอกสาร

ศึกษาคำว่า Google.com ใช้ประโยชน์อะไรบ้างจงอธิบาย
ประโยชน์ของ Google ในการบริการ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มได้ 3 กลุ่ม โดยแบ่งออกตามความสามารถในการทำงานในด้านต่างๆ ดังนี้
1. บริการในกลุ่มดัชนีค้นหา (Search Engines) Google Web Search Features ประกอบด้วยบริการค้นหาต่อไปนี้
Book Search :• บริการค้นหาหนังสือแบบออนไลน์ ซึ่งเป็นบริการใหม่ของ Google ที่เพิ่งเปิดให้บริการกับแฟนหนังสือโดยเฉพาะ
Cached Links• :บริการช่วยจับประเด็นหรือหัวเรื่องสำคัญของเว็บไซต์ที่ต้องการจะค้นหา
• Calculator : เครื่องคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่สามารถตั้งตัวเลข โดยคีย์ลงในช่องค้นหาของ Google แล้วคลิ้กหาคำตอบที่ต้องการได้เลย
• Currency Conversion : บริการแปลงหน่วยมาตราเงินสำหรับระบบแลกเปลี่ยนเงินตรา
• Definitions : หมวดคำศัพท์ที่สามารถค้นหาความหมายของคำศัพท์ที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย
• File Types : ดัชนีค้นหาสินค้าออนไลน์ทั่วทุกมุมโลก
Groups :• ถ้าหากว่าอยากรู้ข้อมูลข่าวสารที่มีคนโพสต์กันบนเว็บไซต์ สามารถค้นหาได้จากบริการนี้
I ‘m Feeling Lucky : ปุ่มบริการดัชนีค้นหาที่ช่วยให้ค้นหาเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็ว และตรงประเด็น โดยข้ามลิงก์ของเว็บไซต์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ถูกตัดออกไป
Images : ระบบดัชนีค้นหารูปภาพที่คลิกได้ง่าย และเร็วทันใจ
Local Search : บริการค้นหาธุรกิจและบริการต่าง ๆ ที่เปิดในสหรัฐ อังกฤษ และแคนาดา
Movie : สามารถเข้าไปดูรีวิวภาพยนตร์หรือว่าตารางโปรแกรมฉายแบบเรียลไทม์ได้จากฟีเจอร์นี้
Music Search : ดัชนีค้นหาเพลงหรือว่าดนตรีที่มีให้บริการฟังเพลงออนไลน์หรือว่าดาวน์โหลดเพลงจากทั่วโลก
News Headlines : บริการที่ทำให้สามารถรู้ข้อมูลข่าวสารทันในที่ส่งมาจากรอบโลกแบบเรียลไทม์
PhoneBook : บริการค้นหาเบอร์โทรศัพท์และเลขที่บนท้องถนนของสหรัฐอเมริกา
Q&A : บริการใหม่ที่อยากรู้อะไรเกี่ยวกับ Google บริการนี้ตอบปัญหาให้ได้ทุกเรื่อง
Similar Pages : บริการแสดงหน้าเว็บเพจที่แสดงผลในหน้าเว็บที่เกี่ยวข้อง
Site Search : กำหนดขอบเขตของการค้นหาเว็บไซต์ให้แคบลง
Spell Checker : เครื่องมือช่วยในการสะกดคำ
Stock Quotes : ดัชนีค้นหาสำหรับราคาหุ้นแบบเรียลไทม์
Travel Information : บริการตรวจสอบสายการบินในสหรัฐ รวมถึงรายงานสภาพอากาศของสนามบิน
Weather : บริการตรวจสอบสภาพอากาศและการพยากรณ์อากาศในทุกรัฐของสหรัฐ
Web Page Translation : บริการแปลหน้าเอกสารภาษาอังกฤษเป็นภาษาอื่น ๆ

2. บริการในกลุ่ม Google Services
Alerts : Answer :บริการแจ้งเตือนข่าวสารและผลการค้นหาผ่านอีเมล์แบบออนไลน์ บริการตอบคำถามให้กับได้ทุกเรื่องที่อยากรู้ โดยนักวิจัยชื่อดังกว่า 500 คน
Blog Search : บริการค้นหาหัวข้อเรื่องที่เป็น Blog
Catalogs :ในประเด็นที่สนใจ บริการค้นหารายการสินค้าที่คุณสนใจและต้องการจะสั่งซื้อผ่านระบบออนไลน์
Directory : บริการค้นหาสาระสำคัญต่าง ๆ ที่อยู่บนเว็บไซต์
Labs : บริการใหม่ ๆ ของ Google ที่สามารถเข้าไปทดสอบใช้งานได้ฟรี ก่อนที่จะออกมาเป็นชุดเต็มของโปรแกรม
Mobile : บริการหลักของ Google ที่สามารถนำไปใช้ได้กับเครื่องโทรศัพท์มือถือ เช่น บริการดัชนีค้นหาเอกสาร รูปภาพ หรือส่ง SMS
News : บริการรายงานข้อมูลข่าวสารใหม่ ๆจากทั่วทุกมุมโลกที่มีให้คุณได้อ่านก่อนใคร
Scholar : บริการค้นหาเอกสารงานวิจัยใหม่ ๆ รวมทั้งบทคัดย่อจากห้องสมุดใหญ่ ๆ มากมาย
Special Searches : บริการค้นหาประเด็นสาธารณะในส่วนที่เป็นองค์กร หรือว่าสถาบันที่ไม่หวังผลกำไรต่างๆ รวมถึงบริการค้นหาเว็บไซต์ของสถานศึกษาต่าง ๆ ที่มีรายละเอียดในเรื่องของหลักสูตรการสอนและระเบียบวิธีการเข้าศึกษาต่อทั้งในระดับโรงเรียนและมหาวิทยาลัย
Video : บริการค้นหารายการทีวีทางโทรทัศน์ เกมโชว์ มิวสิควิดีโอ ที่สามารถเช่าชั่วโมงมาดูกันแบบออนไลน์ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์

3. บริการในกลุ่ม Google Tools
Blogger :• เว็บไซต์ที่มีเครื่องมือสำหรับสร้าง Blogger
Code :• เครื่องมือสำหรับดาวน์โหลด APls และ Source code
Desktop :• เครื่องมือสำหรับช่วยค้นหาไฟล์และข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์
• Earth : เครื่องมือที่ทำให้สามารถค้นหาแผนที่โลกจากดาวเทียม
• Gmail : บริการอีเมล์รุ่นทดสอบของ Google ที่มีความจุกว่า 2.6 กิกะไบต์
• Pack : ชุดเครื่องมือรวมฮิตของ Google รวมถึงบราวเซอร์สุด •เก่ง Firetox Picasa : เครื่องมือสำหรับการบริหารและจัดการรูปภาพทั้งหมดที่มีอยู่ในคอมพิวเตอร์
• Local for Mobile : เครื่องมือสำหรับค้นหาแผนที่ของสถานที่ต่าง ๆ บนโทรศัพท์มือถือ
Talk : เครื่องมือที่ทำให้สามารถพูดคุย ส่งอีเมล์• กับเพื่อนแบบเรียลไทม์ออนไลน์
Toobar :• กล่องเครื่องมือที่ทำให้เว็บไซต์ของสามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลได้โดยตรง โดยไม่ต้องเข้าไปที่เว็บไซต์ของ Google
Translate :• เครื่องมือที่ทำให้สามารถดูเว็บไซต์ได้หลาย ๆ ภาษา
Labs :• กลุ่มของชุดเครื่องมือใหม่ ๆ ของ Google ที่สามารถเข้าไปทดลองดาวน์โหลดได้

แนวคิด

จินตนาการ
สำคัญกว่าความรู้

อัลเบิร์ต ไอสไตน์

ที่มา http://www.bloggang.com

วันศุกร์

search engine

เอสอีโอ (อังกฤษ: SEO: search engine optimization หรือ การเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องมือค้นหา[1] เป็นการจัดทำ ปรับปรุง หรือปรับแต่งหน้าเว็บไซต์เพื่อให้ติดอันดับต้น ๆ ในหน้าผลการค้นหาของเสิร์ชเอนจิน [2] ในลักษณะธรรมชาติ (เรียกศัพท์เฉพาะว่า "ออร์แกนิก") ซึ่งผ่านทางเป้าหมายของคำค้นหาที่ต้องการ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ การทำการตลาดผ่านระบบค้นหา หรือ Search Engine Marketing (SEM)
เอสอีโอเป็นการเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดในเสิร์จเอนจิน คือ การปรับปรุงเว็บไซต์ด้วยเทคนิคต่าง ๆ เพื่อให้ติดอันดับต้น ๆ ของเว็บเสิร์ชเอนจิน ด้วยคำสำคัญโดยเน้นให้ผลของคำค้นปรากฏอยู่ในส่วนของ Natural Search Result (Organic Search Result) หรือในส่วนของผลลัพธ์ทางด้านซ้ายมือของเว็บเสิร์ชเอนจิน เวลาที่คนเข้ามาค้นหาในเว็บเสิร์ชเอนจิน เช่นที่ กูเกิล ยาฮู หรือ เอ็มเอสเอ็น ด้วยคำสำคัญที่ต้องการค้นหาแล้ว จะปรากฏลิงก์ของเว็บไซต์ของเราเพื่อทำให้ติดอันดับต้น ๆ ในหน้าผลการค้นหา ซึ่งการทำ SEO นั้นจะประกอบไปด้วย การปรับปรุง-เพิ่มคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด) ในหน้าเว็บไซต์ การปรับแต่งหน้าเว็บไซต์ให้มีขนาดเล็ก การใช้ meta tag และวิธีอื่น ๆ ควบคู่กันไป
เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจเกี่ยวกับ SEO นั้นก็เหมือนช่องทางหนึ่งในการทำการตลาด โดยการทำความเข้าใจว่าอัลกอริทึมของเสิร์ชเอนจินนั้นทำงานอย่างไร และ คำ ๆ ไหนที่ผู้เยี่ยมชมมีความต้องการที่จะค้นหา เพื่อช่วยเลือกเว็บเพจที่ตอบสนองความต้องการและความสนใจของผู้ทำการค้นหา
การสร้างเว็บเพจโดยการใช้เทคนิค SEO นั้นก็ไม่ได้หมายถึงการสร้างเนื้อหาที่เป็นที่ชื่นชอบต่อเสิร์ชเอนจินเพียงอย่างเดียวโดยที่ไม่คำนึงถึงผู้เยี่ยมชม ซึ่งวิธีการทำ SEO นั้นอาจจะมีการเกี่ยวข้องกับการปรับปรุงโค๊ดของเว็บไซต์, การนำเสนอ, โครงสร้างของเว็บไซต์ และสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งของการทำ SEO ก็คือเนื้อหาที่มีประโยชน์ และจะต้องเป็นเนื้อหาต้นฉบับ
:.
Home
:.
NGV/ LPGคืออะไร
:.
NGV / LPG ทำงานอย่างไร
:.
ค่าใช้จ่าย NGV/LPGเทียบกับน้ำมัน
:.
รุ่นรถที่ติดตั้งNGV / LPG ได้
:.
Gallery
:.
Contact Us
:.
แผนที่
:.
FAQs คำถามที่ถามบ่อย

ก๊าซธรรมชาติคืออะไร
ก๊าซธรรมชาติ เป็นพลังงานปิโตรเลียมชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับน้ำมัน ที่จริง น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ก็คือ ซากพืชและซากสัตว์ที่ทับถมกันมานานหลายแสนหลายล้านปี และทับถมสะสมกัน จนจมอยู่ใต้ดิน แล้วเปลี่ยนรูปเป็นสิ่งที่เรียกว่า ฟอสซิล ระหว่างนั้นก็มีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ จนซากสัตว์และซากพืชหรือฟอสซิลนั้นกลายเป็นน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ที่เรานำมาใช้ประโยชน์ได้ในที่สุด เราจึงเรียกเชื้อเพลิงประเภทน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ว่า เชื้อเพลิงฟอสซิล
ในทางวิทยาศาสตร์ เรารู้กันดีว่า ต้นพืชและสัตว์ รวมทั้งคน ประกอบด้วยเซลล์เล็กๆ มากมาย เซลล์เหล่านี้ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจนและธาตุคาร์บอนเป็นหลัก เวลาซากสัตว์และซากพืชทับถมและเปลี่ยนรูปเป็นน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติหรือถ่านหิน พวกนี้จึงมีองค์ประกอบของสารไฮโดรคาร์บอนเป็นส่วนใหญ่ และเมื่อนำไฮโดรคาร์บอนเหล่านี้มาเผา จะให้พลังงานออกมาแบบเดียวกับที่เราเผาฟืน เพียงแต่เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือถ่านหิน ให้ความร้อนมากกว่า
ก๊าซธรรมชาติมีก๊าซหลายอย่างประกอบเข้าด้วยกัน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า มีเทน อีเทน โพรเพน บิวเทน ฯลฯ แต่โดยทั่วไปจะประกอบด้วยก๊าซมีเทนเป็นส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 70 ขึ้นไป ก๊าซพวกนี้เป็นสารไฮโดรคาร์บอนทั้งสิ้น เมื่อจะนำมาใช้ ต้องแยกก๊าซออกจากกันเสียก่อน จึงจะใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ นอกจากสารไฮโดรคาร์บอนแล้ว ก๊าซธรรมชาติยังอาจประกอบด้วยก๊าซอื่นๆ อาทิ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ไนโตรเจน และน้ำ เป็นต้น สารประกอบเหล่านี้สามารถแยกออกจากกันได้ โดยนำมาผ่านกระบวนการแยกที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติ ก๊าซที่ได้แต่ละตัวนำไปใช้ประโยชน์ต่อเนื่องได้อีกมากมาย
คุณสมบัติทั่วไปของก๊าซธรรมชาติ- เป็นเชื้อเพลิงปิโตรเลียมชนิดหนึ่ง เกิดจากการทับถมของสิ่งมีชีวิตนับล้านปี - เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ประกอบด้วยก๊าซมีเทนเป็นหลัก - ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ปราศจากพิษ ( ส่วนมากกลิ่นที่เราคุ้นเคยจากก๊าซธรรมชาติเป็นผลมาจาก การเติมสารเคมีบางประเภทลงไป เพื่อให้ผู้ใช้รู้ได้ทันท่วงทีเมื่อเกิดเหตุการณ์ก๊าซรั่ว) - เบากว่าอากาศ (ความถ่วงจำเพาะ 0.5-0.8 เท่าของอากาศ) - ติดไฟได้ โดยมีช่วงของการติดไฟที่ 5-15% ของปริมาตรในอากาศ และอุณหภูมิที่สามารถติดไฟได้เองคือ 537-540 องศาเซลเซียส
คุณประโยชน์ของก๊าซธรรมชาติ- เป็นเชื้อเพลิงปิโตรเลียมที่นำมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง มีการเผาไหม้สมบูรณ์ - ลดการสร้างก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน - มีความปลอดภัยสูงในการใช้งาน เนื่องจากเบากว่าอากาศ จึงลอยขึ้นเมื่อเกิดการรั่ว - มีราคาถูกกว่าเชื้อเพลิงปิโตรเลียมอื่นๆ เช่น น้ำมัน น้ำมันเตา และก๊าซปิโตรเลียมเหลว - สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม ช่วยขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ - ก๊าซธรรมชาติส่วนใหญ่ที่ใช้ในประเทศไทยผลิตได้เองจากแหล่งในประเทศ จึงช่วยลดการนำเข้าพลังงานเชื้อเพลิงอื่นๆ และประหยัดเงินตราต่างประเทศได้มาก
การใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์ (NGV ) Natural Gas for Vehicles ( NGV ) คือ ก๊าซธรรมชาติที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานยนต์ โดยก๊าซ NGVนี้มีมีส่วนประกอบหลักคือ ก๊าซมีแทนที่มีคุณสมบัติเบากว่าอากาศ ส่วนใหญ่จะมีการใช้ อยู่ในสภาพเป็นก๊าซที่ถูกอัดจนมีความดันสูง (ประมาณ 3,000 ปอนด์ ต่อ ตารางนิ้ว) เก็บไว้ในถังที่มีความแข็งแรง ทนทานสูงเป็นพิเศษ เช่น เหล็กกล้า บางครั้งเรียกก๊าซนี้ว่า CNG ( Compressed Natural gas ) หรือก๊าซธรรมชาติอัด การใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ มีข้อดีคือ เกิดการเผาไหม้สมบูรณ์ ให้มลพิษต่ำโดยเฉพาะปริมาณฝุ่นละออง ( Particulate ) และควันดำรูปแบบการใช้ NPG กับรถยนต์
• รถยนต์ใช้ก๊าซ NGV เป็นเชื้อเพลิงอย่างเดียว ( Dedicated NGV ) ส่วนใหญ่ผลิตจากโรงงานโดยตรงใช้เครื่องยนต์ที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นสำหรับใช้ก๊าซธรรมชาติโดยเฉพาะ • รถยนต์ใช้ก๊าซ NGV ระบบเชื้อเพลิงทวิ ( Bi-Fuel System ) ซึ่งระบบที่สามารถเลือกใช้น้ำมันเบนซินหรือใช้ NGV เป็นเชื้อเพลิงได้โดยเพียงแต่ปรับสวิตช์เลือกใช้เชื้อเพลิงเท่านั้น • รถยนต์ใช้ก๊าซ NGV ระบบเชื้อเพลิงผสม ( Dual-fuel system ) ซึ่งเป็นระบบใช้น้ำมันดีเซล ผสมก๊าซ NGV โดยใช้ร่วมกัน

1. ระบบความปลอดภัย ความปลอดภัยของระบบเชื้อเพลิงก๊าซ ( NGV SAFETY ADVICE )ระบบ BRC / NGV ได้ถูกออกแบบตามมาตรฐานที่ให้ความปลอดภัยสูง ตามมาตรฐานความปลอดภัยของยุโรป ECE R110 ทำให้รถของท่านมีความปลอดภัยสูงสุดและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ก๊าซธรรมชาติ เป็นก๊าซประเภท ( NON - TOXIC) และไม่เป็นอันตรายต่อการสูดหายใจเข้าไปในปริมาณความเข้มข้นต่ำและก๊าซธรรมชาติมีน้ำหนักเบากว่าอากาศ ดังนั้นเมื่อมีการรั่วตามจุดข้อต่อต่าง ๆ ก๊าซธรรมชาติจะลอยขึ้นสู่อากาศไม่สะสมในรถยนต์
• กรณีที่สงสัย หรือพบว่ามีการรั่วไหลของก๊าซธรรมชาติ ควรจอดรถในที่โล่ง , ดับเครื่องยนต์และปิดวาล์วมือที่ถังบรรจุก๊าซธรรมชาติ จากนั้นปรับไปใช้เชื้อเพลิงแก๊สโซลีน และนำรถยนต์ของท่านไป ตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญที่ได้มาตรฐาน
• เมื่อเติมก๊าซธรรมชาติให้เปิด ฝาครอบพลาสติกที่ครอบหัวเติมก๊าซ จะมีสวิตช์ที่การทำงานตัดระบบของเครื่องยนต์โดยอัตโนมัติ เครื่องยนต์จะสตาร์ทไม่ติด

2. การซ่อมบำรุงการปรับเปลี่ยน (CONVERSION MAINTENANCE)อุปกรณ์เสริมเพื่อใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติในรถของท่าน ต้องการการซ่อมบำรุงเพียงเล็กน้อยเท่านั้นคำแนะนำนี้จะช่วยให้รถของท่านทำงานด้วยสมรรถนะที่ดีที่สุด การตรวจสอบระยะ 1,000 กิโลเมตร เมื่อเครื่องยนต์ติดตั้งระบบ NGV และใช้งานแล้วประมาณ 1,000 กิโลเมตร กรุณานำรถเข้าศูนย์เพื่อทำการ ปรับตั้ง (JUNE UP) และเพื่อตรวจสอบการทำงานอีกครั้งทั้งระบบ โปรดติดต่อกับผู้เชี่ยวชาญ หรือศูนย์บริการเพื่อทำการตรวจสอบรถของท่าน ( ดูรายการตรวจสอบที่ 1000 กิโลเมตร ในหัวข้อตารางการซ่อมบำรุง )
การตรวจสอบประจำปี การตรวจสอบระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ นั้นควรมีการตรวจสอบทุกปี ( ดูรายการตรวจสอบประจำปี ในหัวข้อตารางการซ่อมบำรุง )
ถังบรรจุเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ
ชิ้นส่วนอุปกรณ์
ระยะเวลา
- รักษาระบบการจุดระเบิด (IGNITION SYSTEM)
ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ (ดูตารางการซ่อมบำรุงจาก คู่มือการใช้รถของท่าน)
- เปลี่ยนน้ำมันเครื่อง
ตามระยะเวลาที่บริษัทผู้ผลิตแนะนำ
- เปลี่ยนกรองอากาศ
ทุก20,000-30,000กิโลเมตรหรือตามความจำเป็น
- ทำความสะอาดกรองอากาศ
ทุก ๆ อาทิตย์
- เปลี่ยนกรองก๊าซ NGV
ทุก 40,000 กิโลเมตร หรือทุก 1 ปี
- เปลี่ยนหัวเทียน
ทุกๆ30,000 กิโลเมตร
- ตรวจสอบข้อต่อและอุปกรณ์ NGV (ยกเว้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า)
ด้วยน้ำสบู่ทุก ๆ เดือน
- ทำการใช้ระบบเชื้อเพลิง
อย่างน้อย 10 กิโลเมตร/วัน
- ตรวจสอบตั้งค่าการทำงานในระบบเชื้อเพลิงNGV
เมื่อมีการซ่อมแซมเครื่องยนต์ใหม่
- การตรวจสอบถังบรรจุเชื้อเพลงก๊าซธรรมชาติ NGV
ต้องทำการตรวจและรับรอง ทุกๆ 5 ปี
ก๊าซปิโตเลียมเหลว กับ ก๊าซหุงต้ม ( LPG )
ก๊าซหุงต้ม มีชื่อเป็นทางการว่าก๊าซปิโตรเลียมเหลว ( liquefied petroleum gas : LPG ) หรือเรียกย่อๆ ว่า แอลพีจี เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแยกน้ำมันดิบในโรงกลั่นน้ำมันหรือการแยกก๊าซธรรมชาติ ในโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ก๊าซปิโตรเลียมเหลวประกอบด้วยส่วนผสมของไฮโดรคาร์บอน 2 ชนิด คือ โพรเพนและบิวเทน ในอัตราส่วนเท่าใดก็ได้ หรืออาจจะเป็นโพรเพนบริสุทธิ์ 100% หรือบิวเทนบริสุทธิ์ 100% ก็ได้ สำหรับในประเทศไทยก๊าซหุงต้มส่วนใหญ่ได้จากโรงแยกก๊าซธรรมชาติโดยใช้อัตราส่วนผสมของโพรเพน และบิวเทนประมาณ 70:30 ซึ่งจะให้ค่าความร้อนที่สูง ทำให้ผู้ใช้ประหยัดเวลาและค่าเชื้อเพลิง
ก๊าซปิโตรเลียมเหลวสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้ม ในครัวเรือน ในโรงงานอุตสาหกรรม และในยานพาหนะได้ เช่นเดียวกับก๊าซธรรมชาติที่สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า ในโรงงานอุตสาหกรรม และในยานพาหนะ แต่ในประเทศไทยยังไม่มีการนำก๊าซธรรมชาติมาใช้งานในครัวเรือนโดยตรง ด้วยคุณสมบัติในการเป็นเชื้อเพลิงติดไฟของก๊าซธรรมชาติและก๊าซหุงต้ม เพื่อความปลอดภัย ผู้ใช้ต้องใส่ใจในการปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยในการใช้งานอย่างเคร่งครัด
คุณสมบัติทั่วไปของ LPG • เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ประกอบด้วยก๊าซโพรเทนและนิวเทน เป็นหลัก • ไม่มีกลิ่น ไม่มีสี ปราศจากพิษ ( แต่โดยทั่วไปจะเติมสารเคมีเพื่อความปลอดภัย ) • หนักกว่าอากาศ • ติดไฟได้ในช่วงของการติดไฟที่ 2–15 % ของปริมาณในอากาศ และอุณหภูมิที่ติดไฟได้เองคือ 400 c ํ คุณประโยชน์ของก๊าซ LPG • เป็นเชื้อเพลิงที่นำมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงมีการเผาไหม้สมบูรณ์ • ลดการสร้างก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะไอกรีน • มีราคาถูก 9.5 ( 05/08/48 ) • ก๊าซอยู่ในสภาพแรงดันต่ำ 180 psi • อัตราการสิ้นเปลืองก๊าซเทียบเท่ากับการใช้น้ำมันเบนซิน • อุปกรณ์มีราคาถูกกว่าอุปกรณ์ก๊าซ NGV
ข้อเปรียบเทียบ
ก๊าซธรรมชาติ
ก๊าซหุงต้ม (LPG)
ความปลอดภัย
มีความปลอดภัยสูงเนื่องจาก เบากว่าอากาศเมื่อเกิดการรั่วไหล จะลอย ขึ้นสู่อากาศทันที
เนื่องจากหนักกว่าอากาศ เมื่อเกิดการรั่วไหลจะกระจายอยู่ตามพื้นราบ
ความพร้อมในการนำมาใช้งาน
สถานะเป็นก๊าซนำไปใช้ได้เลย
สถานะเป็นของเหลว ต้องทำให้เป็นก๊าซ ก่อนนำไปใช้งาน
ประสิทธิภาพการเผาไหม้
เผาไหม้ได้สมบูรณ์
เผาไหม้ได้สมบูรณ์
คุณลักษณะของเชื้อเพลิง
ไม่มีสี ไม่มีกลิ่นเผาไหม้ปราศจากเขม่าและกำมะถัน
ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น แต่โดยทั่วไปจะเติมสารเคมีเพื่อความปลอดภัย
จำนวนสถานีบริการ
36 แห่ง ( กค 48)
กว่า 200 แห่งทั่วประเทศ
1. ระบบความปลอดภัย ความปลอดภัยของระบบเชื้อเพลิงก๊าซ ( LPG SAFETY ADVICE )ระบบ LPG ซึ่งผลิตโดย BRC ได้ถูกออกแบบตามมาตรฐานที่ให้ความปลอดภัยสูง ตามมาตรฐานความปลอดภัยของยุโรป ECE 67 ซึ่งทำให้รถของท่านมีความปลอดภัยสูง และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
• กรณีที่สงสัย หรือพบว่ามีการรั่วไหลของแก๊ส ควรปฏิบัติดังนี้ 1.ดับเครื่องยนต์ และเคลื่อนย้ายไปที่อากาศถ่ายเท 2.ปิดวาล์วทันทีเมื่อพบแก๊สรั่ว (มีกลิ่นเหม็น) หรือ ได้ยินเสียงรั่วซึม 3.หยุดการกระทำที่อาจเกิดประกายไฟ ตรวจหาจุดรั่วซึมและแก้ไขจนกว่ามีการรั่วซึม 4.หากทำการแก้ไขด้วยตัวเองไม่ได้ทำการสับสวิทช์มาใช้เบนซินและนำรถมาซ่อมที่ศูนย์ติดตั้ง
2. การซ่อมบำรุงการปรับเปลี่ยน (CONVERSION MAINTENANCE) อุปกรณ์เสริมเพื่อใช้เชื้อเพลิงแก๊ส LPG ในรถของท่าน ต้องการการซ่อมบำรุงเพียงเล็ก น้อยเท่านั้น คำแนะนำนี้จะช่วยให้รถของท่านทำงานด้วยสมรรถนะที่ดีที่สุด
ตารางการดูแลและบำรุงรักษาที่ควรทำเป็นประจำ (REGULAR MAINTENANCE)
ชิ้นส่วนอุปกรณ์
ระยะเวลา
- รักษาระบบการจุดระเบิด (IGNITION SYSTEM)
ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ( ดูตารางการซ่อมบำรุงจาก คู่มือการใช้รถของท่าน)
- เปลี่ยนน้ำมันเครื่อง
ตามระยะเวลาที่บริษัทผู้ผลิตแนะนำ
- เปลี่ยนกรองอากาศ
ทุก 20,000- 30,000 กิโลเมตร หรือตามความจำเป็น
- ทำความสะอาดกรองอากาศ
ทุก ๆ อาทิตย์
- เปลี่ยนกรองก๊าซ LPG
ทุก 40,000 กิโลเมตร หรือทุก 1 ปี
- เปลี่ยนหัวเทียน
ทุก ๆ 30,000 กิโลเมตร
- ตรวจสอบข้อต่อและอุปกรณ์ LPG (ยกเว้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า)
ด้วยน้ำสบู่ทุก ๆ เดือน
- ทำการใช้ระบบเชื้อเพลิง
อย่างน้อย 10 กิโลเมตร/วัน
- ตรวจสอบตั้งค่าการทำงานในระบบเชื้อเพลิงLPG
เมื่อมีการซ่อมแซมเครื่องยนต์ใหม่
-การตรวจสอบถังบรรจุเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ
อายุไม่เกิน 10 ปี ( ไม่ต้องตรวจและทดสอบ ) อายุเกิน 10 ปี

วันเสาร์